@ เล่าเรื่องการทำไม้ในอดีต @
ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติทั้งภูเขา ป่าไม้และแม่น้ำสายสำคัญต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรภาคกลางและกรุงเทพมหานคร นั่นคือแม่น้ำปิง วัง ยมและน่านที่คนไทยทุกยุคทุกสมัยคุ้นเคยดี จังหวัดภาคเหนือตอนบนมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคมทั้งประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส การเริ่มเปิดโอกาสให้ประเทศอังกฤษเข้ามาทำสัมปะทานป่าไม้ในเขตภาคเหนืออันมีเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่และน่านในปีพ.ศ. ๒๔๒๐ จึงเป็นกุศโลบายสำคัญส่วนหนึ่งเพื่อปกป้องการตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคมทั้ง ๒ ลำปางจึงเป็นเมืองหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการจัดทำอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วยสิ่งสำคัญคือเป็นพื้นที่มีไม้สักที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ล้ำลือเพราะเนื้อไม้สักทองที่สวยงามโดยเแถบเมืองลองและวังชิ้น (ในยุคนั้นยังอยู่ในเขตปกครองของเมืองลำปาง) การทำไม้ในช่วงแรกยังคงให้เ้าเมืองทั้งหลายเป็นผู้ดูแลค่าสัมประทานกับบริษัทอังกฤษและแบ่งรายได้ให้แก่รัฐบาลส่วนกลางจะมาเริ่มจัดระบบใหม่และจัดเก็บค่าสัมประทานโดยตรงกับทางรัฐบาลกลางในช่วงรัชสมัยรรัชกาลที่ ๕ รูปแบบการทำไม้ในลำปางและจังหวัดรอบข้างจะอาศัยบริษัททำไม้จากอังกฤษเป็นหลักทั้งเครื่องไม้เครื่องมือและคนคุมงานจะมีนายฝรั่งจำนวนหนึ่งส่วนคนงานระดัฐโฟแมนมักจะได้ชาวอินเดียและชาวพม่าเป็นหลักจะมีคนเมืองและชาวเงี้ยว (ไทยใหญ่) เป็นแรงงาน หนีไม่พ้นสิ่งทดแทนเครื่องจักรที่ไม่อาจเข้าในดอยสูงได้จำเป็นต้องใช้แรงงานจากช้างซึ่งจะใช้กันมากในการชักลากเพื่อผลักลงแม่น้ำหรือทิ้งข้างทางที่รถยนต์เข้าถึง ด้วยการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในภาคเหนือโดยเฉพาะเมืองลำปางจึงเป็นแหล่งรวมผู้คนจากนานาชาติทั้งฝรั่ง แขกอินเดีย แขกปาทาน พม่า(ม่าน) เงี้ยว(ไทยใหญ่) ขมุ ลื้อ คนจีนและกลุ่มคนเมืองที่ถือว่าเป็นคนท้องถิ่น ในยุคของการทำไม้เมืองลำปางจึงถือว่าศูนย์รวมนานาชาติที่คนยุคสมัยนั้นจะมีข้าวของเครื่องใช้จากอังกฤษและชาวยุโรปเช่นข้าวของเครื่องใช้จากอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน ป้ายร้านค้าจะมีทั้งตัวไทย อังกฤษ จีนอยู่ในป้ายเดียวกัน ผลการส่งออกไม้สักของเมืองลำปางจึงมีปริมาณส่งออกมากกว่าจังหวัดใดๆในภาคเหนือ ร่องรอยที่มีให้เห็นจนปัจจุบันคือเรือนไม้เก่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ไม่น้อย รวมทั้งวัดพม่าที่มีอยู่มากที่สุดในประเทศไทยก็ด้วยผลพวกจากการทำไม้ในอดีตในเมืองลำปางนั่นเอง อุตสาหกรรมการทไมในลำปางจึงยังคงมีอุงค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.)และศูนย์ฝึกลูกช้างหรือสถาบันคชบาลเป็นเอกลักษณ์สำคัญจวบจนปัจจุบัน ถีงปัจจุบันไม้สักจะเป็นของหายากและมีความพยายามพลักฟื้นอยู่บ้างอย่างน้อยๆก็เป็นเครื่องเตือนใจกับอนุชนรุ่นหลังให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้พอคงอยู่เพื่อชีวิตที่ดีของชาวชาวเราในปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจ