TKP HEADLINE

พระญาพรหมโวหารกวีเอกแห่งล้านนา ( คนเมืองลำปางบ้านสิงห์ชัย )

 



พญาพรหม พญาพรหมวิไสย หรือ พญาพรหมโวหาร นามเดิม หนานพรหมินทร์ (บางหลักฐานชื่อ พรหมปัญญา) เป็นนักกวีชาวล้านนาที่มีชื่อเสียง

มีนามเดิมว่า พรหมินทร์ (หลักฐานบางแหล่งว่า พรหมปัญญา) เกิดเมื่อพุทธศักราช 2345 ปีจอ หรือปีเต่าเส็ด จุลศักราช 1164 ตามระบบปีล้านนา ที่บ้านสันกลาง ในตรอกตรงข้ามกับวัดดำรงธรรม (วัดไทยใต้) เป็นบุตรของเจ้าแสนเมืองมา ขุนนางผู้ใหญ่ในตระกูลเจ้าเจ็ดตน มีหน้าที่รักษากุญแจคลังหลวงของนครลำปาง มารดาชื่อนางจันทร์เป็ง (จันทร์เพ็ง) มีน้องชายร่วมมารดาเดียวกันชื่อบุญยงหรือบุญโยง มารดาถึงแก่กรรมตั้งแต่พรหมินทร์ยังเด็กอยู่  อ่านเพิ่มเติม.......


มารู้จักวัดสิงห์ชัย (วัดป่าแภง) :วัดบ้านเกิดพระญาพรหมโวหาร


หากท่านเดินทางจากหอนาฬิกาบริเวณห้าแยกไปตามถนนบ้านเชียงรายผ่านวัดเชียงรายถึงสามแยกริมน้ำวังแล้วเลี้ยวซ้ายตามริมน้ำบนถนนทิพย์ช้าง ( ถนนวังซ้ายเดิม) ราว ๕๐๐ เมตรจะพบวัดสิงห์ชัยอยู่ริมทาง ด้านหน้าวัดอาจดูแคบไปนิดเพราะหน้ารั้ววัดด้านขวามือจะมีร้านค้าห้องแถวขวางอยู่บริเวณหน้ารั้ววัดด้านซ้ายมือจะปรากฏอนุสาวรีย์พระญาพรหมโวหารตั้งอยู่บนแท่นทรงสี่เหลี่ยมในท่านั่งชันเขาเขียนหนังสือ นี่ถือเป็นจุดสำคัญที่นำชื่อเสียงมาสู่วัดสิงห์ชัยและเป็นที่มาของการพาท่านมาแวะเยี่ยมวัดสิงห์ชัยแห่งนี่ครับ  อ่านเพิ่ม.......












แม่ดีเด่น เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2560


 คุณแม่ศรีวรรณ ทรงสมบูรณ์ อายุ89 ปี ศาสนาพุทธ พำนักอยู่บ้านเลขที่ 8 ถนนศรีเกิด อ.เมือง จ.ลำปาง เกิดและเติบโตที่บ้านหน้าวัดศรีเกิด ที่มีบรรพบุรุษ ที่หลากสายพันธุ์ เป็นลูกคนที่ 3 ของนายยิ่วพ้ง มีชื่อไทยว่า พงษ์ และ นางหลวง รุจจนพันธ์ มีพี่น้องจำนวน 7 คน มีบุตรธิดา 5 คน อ่านต่อ

ที่ทำการหนังสือพิมพ์เอกราช


 

เอกราช นสพ. ท้องถิ่นลำปางฉบับแรกและเก่าแก่ที่สุด ที่สามารถดำรงอยู่ได้เป็นเวลานานกว่า 57 ปี อ่านต่อ

ครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ปฐมบูรพาจารย์โรงเรียนลำปางกัลยาณี


 ด้วยความที่มีครูเพียงคนเดียว การเรียนการสอนจึงต้องจัดให้เด็กโตช่วยสอนเด็กเล็ก ถึงกระนั้นคุณครูแคลระ  ก็ได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังทรัพย์  พัฒนาโรงเรียนมาเพียงลำพังเป็นระยะเวลา ๕ ปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงได้ครูจากพระนครมาช่วยสอน แบ่งเบาภาระงานท่านได้บ้าง อ่านต่อ

วัดบุญยืน

 

วัดบุญยืน ตั้งอยู่เลขที่ 52 ถนนราชบุตร บ้านบุญยืน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2345 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2535 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่ที่เคยเป็นที่จำวัดของ หลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี อีกทั้งยังได้เป็นเจ้าอาวาสอ่านต่อ

คุณูปการณ์พ่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย)

 

คุณูปการณ์ด้านการศึกษาของพ่อเจ้าบุญวาทย์ เริ่มเมื่อ ร.ร.เดิมจากวัดแสงเมืองมา ย้ายมาอยู่หน้าคุ้ม มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ซื้อที่ดินบริเวณห้างกิมเซ่งหลี (โรงแรมอรุณศักดิ์ปัจจุบัน)  แล้วย้ายโรงเรียนหน้าคุ้มมา ณ ที่ดินแห่งใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จต่างประเทศพระเนตร พระกรรณ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้เสด็จทรงเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๘  พระราชทานนามโรงเรียนว่า “บุญวาทย์วิทยาลัย” ตามราชทินนามของเจ้าบุญวาทย์ เจ้าผู้ครองนคร อ่านต่อ

วัดป่าดัวะ


 วัดป่าดัวะ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2430 โดยเจ้าวรวงค์และเจ้าอินตุ้ม ณ ลำปาง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2492 วัดป่าดัวะ ได้รับวัฒนธรรมมาจากสมัยล้านนา สังเกตุได้จากพระอุโบสถที่มีรูปแบบการสร้างแบบล้านนาทั้งหลัง ภายในวัดเสนาสนะประกอบด้วย พระธาตุเจดีย์ อุโบสถ กุฏิศาลาการเปรียญ หอระฆัง อ่านต่อ

วัดบุญวาทย์วิหาร


 วัดบุญวาทย์วิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ถนนบุญวาทย์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วัดบุญวาทย์วิหาร เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญสืบมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วกว่า ๔๐๐ ปี แต่ไม่มีหลังฐานที่แน่นอนว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียงแต่คำบอกเล่าว่า เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อวัดกลางเวียง เป็นวัดสำคัญประจำนครลำปาง คือเป็นวัดที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อ่านต่อ

วัดเชตวัน


 วัดเชตวัน ตั้งอยู่เลขที่ 58 ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา มีพระอุโบสถ พระเจดีย์ และมีอาคารหอจินดา กรมมหาเถระสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี 96 พรรษา เป็นอาคารเรียนสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 22 และวัดเชตวันได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2417 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2505 อ่านต่อ

มัสยิดอัลฟาลาฮุ


 มัสยิดอัลฟาลาฮุ    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชน  ตรงกันข้ามกับวัดศรีชุม  (วัดพุทธแบบพม่า) ในช่วงแรกมีชาวมุสลิม  อยู่เพียง ๑๕๐ ครัวเรือน  มีสถานที่ทำศาสนกิจที่วัดเชตวัน  ในปี ๒๔๙๗ ได้ย้ายมาสร้างมัสยิดตรงข้ามวัดศรีชุม เพื่อรองรับชาวมุสลิมที่มีจำนวนมากขึ้น อ่านต่อ

พระเจ้าสิงห์หลวงแสนภูพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์


 พระเจ้าสิงห์หลวงแสนภู เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยศิลปะล้านนาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๔๕ นิ้ว สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนภูกษัตริย์ครองเมืองเขียงใหม่–เชียงแสน ประมาณปี พ.ศ.๑๘๖๙-๑๘๗๘ นับเป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ที่มีพุทธลักษณะงดงามน่าเลื่อมใส เปลวรัศมีพระโมฬี(จุกผมหรือมวยผม)เปลวเพลิงประดับด้วยเพชรพลอย ซึ่งต่างจากสกุลช่างสิงห์หนึ่งที่เปลวรัศมีเป็นดิกบัวตูมอ่านต่อ

วัดซิกข์


 เมื่อปี พ.ศ.2452 นางวารียาม ซิงห์ ได้เดินทางจากประเทศอินเดีย มาตั้งรกราก และทำการค้าขายอยู่ที่จังหวัดลำปาง จนกระทั่งมีฐานะมั่นคง เปิดร้านขายผ้า "ห้างวีระไทย"ในจังหวัดลำปาง

ในสมัยนั้นเมื่อชาวอินเดียจะเดินเรือมายังประเทศไทย ขึ้นฝั่งที่พม่า แล้วจึงเดินทางต่อมายังแผ่นดินไทย ซึ่งมักประสบปัญหาที่พักระหว่างทาง ท่าวารียามได้ปรึกษากับชาวอินเดียทั้งหลายที่ทำการค้าในจังหวัดลำปาง ว่าควรจะสร้างวัดเพื่อจะได้มีที่สำหรับปฏิบัติธรรม และที่พักแกคนเดินทางชาวอินเดีย เมื่อทุกคนเห็นชอบ ในปี พ.ศ. 2476 ท่านวารียามจึงสร้างวัด พร้อมถวายที่ดินส่วนตัว มอบให้แก่วัดซิกข์ อ่านต่อ

รถม้าลำปาง


 ประวัติรถม้าลำปางรถม้าเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับตกทอดมาจากอังกฤษและอินเดีย ถือกันว่ารถม้าเป็นพาหนะคู่บ้านคู่เมือง จนกระทั่งรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รถม้าจึงถูกนำไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆนับเวลาย้อนหลังไปในช่วง 85 ปีที่แล้วหรือปี 2458 สมัยของเจ้าบุญวาทย์มานิตตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 อ่านต่อ

ก้ำ จิตรกรไร้นิ้วแห่งเมืองรถม้า


 ก้ำ วงศ์มหา เป็นผู้ที่เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่าคนพิการ แต่พ่อแม่ก็เลี้ยงดูก้ำไม่เคยรังเกียจหรืออับอายขณะที่พี่สาวสองคนแรกที่เกิดก่อนร่างกายสมบูรณ์แต่ไม่แข็งแรงและจบชีวิตตั้งแต่วัยเด็กก้ำยกมือสาธุเมื่อเล่าเรื่องเก่าแต่หนหลังผ่านที่ดินที่เป็นที่ตั้งบ้านเก่าที่ก้ำเคยอยู่กับพี่สาวทั้งสองแม้จะไม่หลงเหลือแต่ความทรงจำของก้ำยังไม่ลืมเลือน อ่านต่อ

พิธีส่งเคราะห์-สืบชะตา

 

พิธีส่งเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์

ชุมชนศรีเกิดเป็นชุมชนเก่าแก่ ได้มีการอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย มาแล้วสืบต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันก็ยังมีประเพณีนี้อยู่ ตามความเชื่อของของคนโบราณว่าถ้าได้ทำแล้วจะทำไห้อยู่ดีมีความสุขมีกำลังใจกำลังกาย พ้นเคราะห์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและพ้นภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งประเพณีใหญ่ที่สำคัญทำประจำทุกปี (จะทำ3พิธี) ในวันเดียวกันคือ“วันปากปี๋”(ตรงกับวันที่ 16 เมษายน) ปี๋ใหม่เมือง อ่านต่อ

คุณตาขนมเบื้องโบราณ

 

ขนมเบื้องชาววังมีหลายสูตร ที่ได้นี่เป็น ขนมเบื้องรัชกาลที่ 5 ที่แขกทำถวาย คุณตามาลำปางตัวเปล่า ข้าวของทำมาหากินมาหาซื้อเอาที่ลำปาง ทุกวันนี้ใช้วิธีการสั่งของให้เอามาส่งและทำเอง แป้งขนมเบื้องเป็นแป้งข้าวกล้อง ใช้ไข่ครั้งละ 30 แผง ในการเตรียมเครื่องทำขนมเบื้องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้านเปิดขาย 11 โมง ปิด บ่าย 2 อ่านต่อ 

วัดไชยมงคล (จองคา)

 

เมื่อ ๓๐๐ กว่าปี สถานที่แห่งนี้เป็นที่ประหารนักโทษ เป็นที่รวมพลนักรบไทยโบราณ ทั้งพวกพม่า ไทยใหญ่ และนักรบพื้นเมืองของคนล้านนา (ในสมัยพ่อเจ้าทิพย์ช้าง) ต่อมาพื้นที่วัดแห่งนี้ได้อยู่ในความดูแลของพระชายาองค์หนึ่งของเจ้านรนันทไชยชวลิต (เจ้าเมืองนครลำปาง) ได้ยกที่ดิน ๙ ไร่เศษ ให้เป็นที่สร้างสำนักสงฆ์ จากทั้งหมด ๓๑ ไร่ คงเหลือไว้ ๒๒ ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ทำเกษตร ทำนา ปลูกพืชผลเลี้ยงวัด พ่อค้าชาวล้านนาไทย ชาวพม่ารวมตัวกันหลายสิบคน สร้างสำนักสงฆ์จองคา ที่ปรากฏคือ พ่อเลี้ยงอ้าย หรือยศ พ่อเลี้ยง อู โง่ยสิ่น สุวรรณอัตถ์ พ่อเลี้ยงยาติ๋น พ่อเลี้ยงหม่องเมี๊ยว ฯลฯ โดยได้แรงสนับสนุนจากเจ้าแม่ผาง เจ้าแม่ทอง เจ้าแม่จันท์หอม ตลอดจนชาวพุทธ ฤๅษีที่ปฏิบัติธรรม มีกุฏิมุงด้วยหญ้าคาเป็นจำนวนมาก สำนักสงฆ์นี้จึงได้ชื่อว่า จอมใจจองคา (จอง แปลว่า วัด, คา คือ หญ้าคา) อ่านต่อ

โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) โรงเรียนคู่ชุมชนบ้านเชียงราย


โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 จวบจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานถึง 94 ปี เมื่อครั้งเริ่มต้นเปิดทำการสอน ณ วัดเชียงราย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชาวเชียงราย ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานกลายเป็นชุมชนบ้านเชียงรายสมัยสร้างบ้านแปงเมือง ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) แห่งรัตนโกสินทร์ เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (อ่านเพิ่มเติม)


 

รถยนต์พระที่นั่งรับเสร็จในหลวงรัชกาลที่๙


 

รถยนต์พระราชทานพาหนะ รับเสด็จจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 , สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ขณะนี้จอดไว้ที่สำนักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ภาคเหนือตอนบน ต.เวียงเหนือ อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง อ่านเพิ่มเติ่ม

นั่งรถรางชมกำแพง ดูคู ประตูเมือง ครั้งที่1


  จัดกิจกรรมนำร่อง ภายใต้ชื่อ โครงการ “นั่งรถรางชมกำแพงดูคูประตูเมือง” ขึ้นในวันที่๖ เมษายน อ่านต่อ

หออะม๊อก


 "หออะม็อก" เป็น (พม่า) แปลว่า "หอปืน" เป็นป้อมปืนใหญ่โบราณ ตั้งอยู่บนถนนศรีเกิด บ้านศรีเกิด (ชุมชนศรีเกิด) ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง นครลำปาง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2351 ในรัชสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 3 แห่งทิพย์จักรวงศ์สัตตราชา เจื้อเจ้าอันเป็นเค้าอยู่หนเหนือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนครลำปาง สกุลปงยางคก-ป่าหนาดคำ (บ้านเอื้อม) (ทรงครองนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2337 - 2367 รวมเวลา 31 ปี) อ่านต่อ

วัดหลวงเชียงรายในอดีต



วิถีชาวพุทธชุมชนอยู่ที่ใดก็สร้างวัดเป็นศาสนสถานเพื่อปฏิบัติศาสนกิจควบคู่กันไปเสมอ เมื่อมีการอพยพผู้คนจากบ้านเมืองเดิมรวมทั้งการนิมนต์พระภิกษุสามเณรร่วมขบวนมาด้วยในคราวนั้นพระผู้ใหญ่ที่นำพระเณรมาด้วยคือครูบากุมารแม้นจะไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ยังเชื่อว่าท่านก็คงมีเชื้อสายของเจ้าฟ้าเมืองเชียงรายเป็นแน่ อ่านเพิ่มเติม

วัดศรีล้อม หรือ วัดศรีล้อมเวียงดิน


 ตั้งอยู่เลขที่ 42 ถนนพระแก้ว ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ถูกระบุว่าเคยเป็นวัดตำแหน่งกลาง ระหว่างเมืองเขลางค์ยุคที่ 1 และเมืองเขลางค์ยุคที่ 2 มีเนื้อที่ 7 ไร่ 93 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2400 (จากหลักฐานสมุดทะเบียนวัด ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง พ.ศ. 2536 ) อ่านต่อ


ภูมิหลังเขลางค์นคร


 จังหวัดลำปางเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ว่ามีอายุยาวนานกว่า๑๓๐๐ ปี และเป็น๑ใน๓๑เมืองเก่า ตามประกาศของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองก่า เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ ประวัติเมืองเขลางค์นครถูกแบ่งออกเป็น๓ยุค ตามการสร้างเมืองและการย้ายขอบเขต ศูนย์กลางเมือง ซึ่งมีประวัติเมืองโดยสังเขป อ่านต่อ


วัดหลวงเชียงราย/บ้านเชียงราย/ประตูเมืองเชียงราย


เมื่อมาเยือนลำปางท่านคงไม่พลาดนั่งรถม้าลำปาง ถ่ายรูปรถม้ากับหอนาฬิกาบริเวณห้าแยกหอนาฬิกาที่คนลำปางดั้งเดิมเรียกห้าแยกเชียงรายที่มีถนนห้าสายมาบรรจุกันและห่างจากจุดนี้ไป 500 เมตรเป็นที่ตั้งของวัดหลวงเชียงรายในระแวงนี้ชื่อว่า ”บ้านเชียงราย” ท่านคงสงสัยแล้วซินะว่าทำไมจึงเป็นบ้านเชียงรายในเมืองลำปาง อ่านต่อ

 

วัดศรีชุม

 



ในอดีต วัดศรีชุมจะมีสมภารวัดและภิกษุที่จำพรรษาเป็นชาวพม่า และเป็นที่พักอาศัยของชาวพม่าที่เข้ามาพำนักอยู่ในไทย ประชาชนคนพื้นเมืองในละแวกนี้ จะไม่นิยมเข้าไปทำศาสนกิจในวัดพม่าเลย เช่น งานศพ งานบุญต่างๆ จะพากันไปทำที่วัดน้ำล้อม วัดเมืองศาสน์ วัดคะตึก เป็นต้น ปัจจุบันวัดศรีชุมอยู่ในความดูแลของพระภิกษุไทย ทั้งเจ้าอาวาสและพระลูกวัดจะเป็นคนไทยตามระเบียบของการปกครองคณะสงฆ์ของประเทศไทย อ่านต่อ

วัดศรีเกิด (Wat Srikerd)

 


วัดศรีเกิด ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ ถนนศรีเกิด บ้านศรีเกิด ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง วัดศรีเกิดสร้างเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏแต่ค้นพบคัมภีร์โบราณของวัดศรีเกิด ชื่อว่า"ธรรมมูลละกัณฑ์ไตร" พระไตรปิฎกได้จารึกไว้ว่าสามเณรตราวิละได้มาปฏิบัติครูบาวัดศรีเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๕ จึงสันนิษฐานว่าวัดศรีเกิดสร้างเมื่อประมาณก่อนปี พ.ศ.๒๓๐๕ และในคัมภีร์โบราณได้บันทึกไว้อีกว่าวัดศรีเกิดสร้างร่วมสมัยกับ วัดเชียงรายซึ่งวัดเชียงรายสร้างประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๐ เดิมชื่อวัด “วัดศรีเกิดแก้วหัวเวียงจัย” แต่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่าวัดศรีเกิด ต่อมาชื่อวัดก็เหลือแค่“วัดศรีเกิด”จนถึงปัจจุบัน

วัดศรีเกิด มีพระพุทธรูปที่สำคัญและมีประวัติที่น่าสนใจน่าศึกษามาก ๒ องค์ อ่านต่อ


วัดหลวงเชียงรายตักกะศิลาแห่งเมืองลำปาง


จากเจ้าอาวาสองค์แรกนามว่าครูบากุมารเป็นช่วงของการสร้างบ้านแปลงเมืองของชาวเมืองลำปางที่ได้ผู้คนจากหัวเมืองต่างๆมาร่วมสร้างความข็งแกร่งและภายใต้การนำของเจ้ากาวิละซึ่งเป็นเจ้าเมืองเขลางค์ในขณะนั้นได้เข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในยุคสมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินสามารถเอาชัยชนะเด็ดขาดจากพม่า บ้านเมืองก็สงบสุขไร้ศึกสงครามชาวประชาก็อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา อ่านต่อ  

 

วัดสวนดอกกลางเวียงลำปาง



            วันสวนดอกแห่งเมืองลำปางเป็นวัดในสังกัดมหานิกายตั้งอยู่กลางเมืองห่างจากห้าแยกหอนาฬิกาไปตามถนนบุญวาทย์ (ถนน ๙ มิถุนาเดิมหรือชื่อเรียกขานของคนลำปางสมัยก่อน ๘๐ปีที่แล้วว่าถนนสายกลาง) เส้นทางเข้าตัวเมืองหรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า”ในเวียง” ราว ๑ กิโลเมตร พื้นที่วัดตั้งอยู่ริมถนนบนเนื้อที่ ๒ไร่๓งาน  จากประวัติความเป็นมาวัดสวนดอกจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๕๙ และได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔  ถือเป็นวัดที่สร้างขึ้นในช่วงต่อระหว่างเมืองลำปางปลายยุค ๒ ใกล้ต้นยุคที่ ๓ ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนที่กำแพงเมืองเก่ายุคที่ ๓ มีประตูเมืองสวนดอกอยู่ระหว่างประตูเมืองเชียงรายกับประตูชัย  จากคำบอกเล่าของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (พระครูสิริธรรมวิภัชซึ่งดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสวนดอกอีกตำแหน่ง ) ว่า วัดสวนดอกนั้นเป็นวัดราษฎร์ที่ศรัทธาชาวบ้านซึ่งมีทั้งชาวไทยพื้นเมือง (คนเมือง) และชาวพม่า (ม่าน)ที่ทำมาหากินอยู่ในระแวกริมน้ำวังร่วมใจกันสร้างขึ้น  เดิมตัววิหารวัดสร้างด้วยไม้ทั้งหลังและเนื่องจากบริเวณวัดจะมีต้นไม้ใหญ่ ว่าน สมุนไพรและมีสวนดอกไม้นานาชนิดเต็มไปหมดเวลาพี่น้องชาวบ้านมาทำบุญที่วัดก็จะเด็ดดอกไม้ในวัดนั่นแหละมาบูชาพระจึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดสวนดอก”



    วัดสวนดอกมีส่วนเกี่ยวพันกันเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายคือเจ้าพ่อบุญวาทย์วงษ์มานิตด้วยพระองค์ท่านได้มาบวชเรียนและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ในสมัยที่พระอธิการปัญญาวงศ์เป็นเจ้าอาวาส แม้จำเป็นวันขนาดไม่ใหญ่โตมากนักก็เป็นวัดเก่าของเมืองลำปางแห่งหนึ่งกลางใจเมืองและมีส่วนส่งเสริมการศึกษาตั้งแต่การเปิดโรงเรียนราษฎร์ให้การศึกษาระดับประถมศึกษาคู่มากับโรงเรียนวิสุทธิวิทยากรของวัดเชียงรายซึ่งภายหลังมอบให้เทศบาลดำเนินการต่อเป็นโรงเรียนเทศบาล ๔ในปัจจุบัน แม้กระนั้นยังมีส่วนส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์คู่มากับวัดเชียงรายโดยเปิดโรงเรียนปริยัติธรรมบริการเปิดสอนแก่พระเณรตราบจนปัจจุบัน   น่าเสียดายที่วิหารเรือนไม้หลังเดิมรวมทั้งกุฏิภายในวัดถูกเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เอกสารและหลักฐานสำคัญต่างๆก็มอดไหม้ไปในกองเพลงในสมัยของท่านอธิการศรีวงศ์เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ทำให้หลักฐานและร่องรอยประวัติศาสตร์น่ารู้ในชุมชนบางส่วนขาดหายไปคงเหลือแต่คำบอกเล่าและหลักฐานข้างเคียงจากวัดอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรืออาจหลงเหลือจากศรัทธารุ่นเก่าๆและลูกหลานที่พอจะมีหลงเหลือท้าทายให้เราๆท่านๆได้สืบค้นเพื่อเพิ่มหลักฐานการเรียนรู้และสืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป


มารู้จักวัดสิงห์ชัย (วัดป่าแภง) :วัดบ้านเกิดพระญาพรหมโวหาร

                         

หากท่านเดินทางจากหอนาฬิกาบริเวณห้าแยกไปตามถนนบ้านเชียงรายผ่านวัดเชียงรายถึงสามแยกริมน้ำวังแล้วเลี้ยวซ้ายตามริมน้ำบนถนนทิพย์ช้าง ( ถนนวังซ้ายเดิม) ราว ๕๐๐ เมตรจะพบวัดสิงห์ชัยอยู่ริมทาง ด้านหน้าวัดอาจดูแคบไปนิดเพราะหน้ารั้ววัดด้านขวามือจะมีร้านค้าห้องแถวขวางอยู่บริเวณหน้ารั้ววัดด้านซ้ายมือจะปรากฏอนุสาวรีย์พระญาพรหมโวหารตั้งอยู่บนแท่นทรงสี่เหลี่ยมในท่านั่งชันเขาเขียนหนังสือ นี่ถือเป็นจุดสำคัญที่นำชื่อเสียงมาสู่วัดสิงห์ชัยและเป็นที่มาของการพาท่านมาแวะเยี่ยมวัดสิงห์ชัยแห่งนี่ครับ

    


 นับเป็นโอกาสดีมากที่ได้พบกันท่านเจ้าอาวาสวัดสิงห์ชัย ( พระครูพิบูลสมณธรรม ) และได้พูดคุยสอบถามทั้งเรื่องของความเป็นมาของวัดและศิษย์ก้นกุฏิอย่างพระญาพรหมโวหาร 

( หนานพรหมินทร์ ) เด็กบ้านสิงห์ชัยผู้ได้รับยกย่องจากคนเมืองลำปางและล้านนาว่าเป็นกวีเอกแห่งล้านนา กวีร่วมสมัยกับพระยาสุนทรโวหารหรือสุนทรภู่ผู้โด่งดังแห่งเมืองสยาม แม้ท่านเจ้าอาวาสจะคุยถึงพระญาพรหมโวหารและพูดถึงความตั้งใจในการร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านพร้อมมอบหนังสืออนุสรณ์เพื่อแจกแก่ผู้ร่วมงานในวันเปิดอนุสาวรีย์ฯพระญาพรหมโวหารเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แต่คงขอยังไปพูดถึงพระญาพรหมโวหารในโอกาสต่อไปคงขอใช้เนื้อที่นี้ให้ตรงตามหัวเรื่องคือรู้จักรวัดสิงห์ชัยก่อนนะครับ

       จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันและในหนังสืออนุสรณ์ฯที่กล่าวไว้แล้ว ก็ต้องขอขอบคุณผู้เขียนเรื่องราวที่เชี่ยวลึกกับประวัติศาสตร์เมืองลำปาง อ.มงคล ถูกนึกที่ให้รายละเอียดมากมายและครอบคลุมประวัติฯเมืองลำปางอย่างละเอียดรวมถึงการเชื่อมโยงเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในลำปางทั้ง ๓ ยุค

        วัดสิงห์ชัย เดิมมีปรากฏอยู่หลายชื่อที่เริ่มปรากฏเริ่มแรกชื่อวัดป่าแภกจากหลักฐานเดิมเชื่อว่าเป็นวัดอรัญวาสี มีปรากฏชื่อตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนาที่กล่าวถึงพุทธศาสนาสายเถรวาทโดนเฉพาะการเผยแพร่ศาสนาสายเถระวาทลัทธิลังกาวงศ์รุ่นที่ ๒ พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์ ที่๑๑ แห่งราชวงศ์เม็งรายมาเผยแพร่และสร้างวัดป่าแดดที่เชียงใหม่เป็นศูย์กลางในปี พ.ศ. ๑๙๘๕ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนักกลับมาเผยแพร่มากในนครลำปางในสมัยของเจ้าหมื่นแก้วนคร ( เจ้าหมื่นหาญแต่ท้อง )ในปี พ.ศ. ๑๙๙๒ ชื่อวัดป่าแภกจึงเริ่มเริ่มขึ้นใกล้ริมน้ำวังโดยมีวัดแสงเมืองมาเป็นศูนย์กลาง และเมื่อถึงช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงต้นที่เมืองล้านนาร่วมกับกรุงเทพฯขับไล่อิทธิพลพม่า การรวบรวมผู้คนหัวเมืองล้านนาเกิดการอพยมเคลื่อนย้ายชาวเชียงราย เชียงแสน เมืองพะเยา เมืองสาด เมืองฝางเข้ามารวมกัน จึงมีชาวเชียงรายบางส่วนเข้ามาสมทบในย่านที่ชาวเชียงรายเข้าสร้างบ้านและวัดบริเวณตอนทิศใต้ฝั่งซ้ายของแม่น้ำวังแต่เนื่องจากภายในกำแพงเมืองยุคที่ ๓ บริเวณวัดเชียงรายและบ้านเชียงรายมีผู้คนอยู่แล้วชาวเชียงรายที่มาสมทบในรอบหลัง ราวพ.ศ.๒๓๖๗ จึงต้องไปอยู่นอกกำแพงบริเวณวัดป่าแภก

กลายเป็นบริเวณนั้นคนเชียงรายเรียกจะกันว่ากันว่าวัดเชียงรายเหนือหมายถึงวัดเชียงรายเดิมและวัดเชียงรายใต้ก็คือวัดป่าแภกบริเวณอกกำแพงวัดนั่นเอง และบริเวณแถบนี้ในนครลำปางยุค ๓ จะเรียกว่า ปลายเวียงด้านใต้ คนละฟากกันหัวเวียงด้านเหนือ วัดป่าแภกที่มีชุมชนใหม่ของคนเชียงรายที่หนาแน่นขึ้นการดูแลทำนุบำรุงศาสนาก็ดีขึ้นตามลำดับแม้กระนั้นชื่อวัดก็ยังคงเดินจนกระทั่ง ลุถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่อเจ้าพ่อบุญวาทย์วงศ์มานิตมาบูรณะวิหารวัดขึ้นมาใหฒ่จึงได้ทรงตั้งชื่อใหม่ว่า “ วัดสิงห์ชัย”จวบจนปัจจุบัน

        วัดสิงห์ชัย ( วัดป่าแภก ) เท่าที่มีหลักฐานรายชื่อเจ้าอาวาสจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

   ๑)    พ.ศ. ๒๓๓๔ -  ๒๓๗๑    ครูบาเจ้าอุปปละ ( ครูบาเจ้าอุปนันโทเถระ ) ผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสิมการศึกษาเล่าเรียนแก่พระญาพรหมโวหาร

   ๒)   พ.ศ. ๒๓๗๑ - ๒๔๓๔     ครูบาเจ้าชินาวังสะ ( ครูบาเจ้าชินาลังกา )

   ๓)   พ.ศ. ๒๔๓๔ -๒๔๓๕     ครูบาเจ้าศิวิไชย

   ๔)   พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๗๓    ครูบาปัญญา หรือญาวิไชยภิกขุ ( พระครูรักขิตคุณ )

   ๕)   พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๕๐๑      พระครูมณีวรรณศิริปัญโญ

   ๖)    พ.ศ.  ๒๕๐๑      พระกาวิไชย

   ๗)    พ.ศ.  ๒๕๐๒    พระครูถาวรกิจโกศล

   ๘)      พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๓๒    พระครูศรีปริยัติกิติ์

     ๙)     พ.ศ.  ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน

     ปัจจุบันวัดสิงห์ชัยเป็นวันในสังกัดมหานิกาย ถือว่าเป็นวันอยู่กลางชุมชนได้พัฒนากิจการคณะสงฆ์ด้วยดีเสมอมาและมีความตั้งใจที่จะให้ผู้คนชาวล้านนาได้รู้จักและเชิดชูเกียรติแก่พระญาพรหมโวหารอันถือว่าเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของคนบ้านสิงห์ชัยเป็นเด็กลำปางและที่สำคัญยังเป็นกวีเอกของล้านนาที่มีส่วยส่งเสริมการรังสรรค์วรรณกรรมด้านกวีนิพนธ์และจรรโลงอักขระอักษรล้านนาเพื่อฟื้นฟูสิ่งดีงามในอดีตให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงรากเง่าของภาษาล้านนาให้อยู่คู่กับเมืองล้านนาและหมู่เฮาชาวคนเมืองคู่กับเมืองไทยสืบไป    แล้วคอยพบกับประวัติและผลงานของพระญาพรหมโวหารกวีเอกแห่งล้านนาชาวนครลำปางหนาต่อไปนะครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


วัดหลวงเชียงราย/บ้านเชียงราย/ประตูเมืองเชียงราย

 


เมื่อมาเยือนลำปางท่านคงไม่พลาดนั่งรถม้าลำปาง ถ่ายรูปรถม้ากับหอนาฬิกาบริเวณห้าแยกหอนาฬิกาที่คนลำปางดั้งเดิมเรียกห้าแยกเชียงรายที่มีถนนห้าสายมาบรรจุกันและห่างจากจุดนี้ไป 500 เมตรเป็นที่ตั้งของวัดหลวงเชียงรายในระแวงนี้ชื่อว่า ”บ้านเชียงราย” ท่านคงสงสัยแล้วซินะว่าทำไมจึงเป็นบ้านเชียงรายในเมืองลำปาง อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย "ลำปางรักษ์เมืองเก่า"

 
Copyright © 2018 ลำปางรักษ์เมืองเก่า. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand